เครื่องมือ SEO ช่วยตรวจเว็บไซต์คู่แข่ง ฟรี ราคาถูก

ทำ-seo-ฟรี-เครื่องมือ

แนะนำ เครื่องมือทำ SEO สำหรับตรวจเว็บคู่แข่ง On-page Off-page ราคาถูก ฟรี

หลักการทำ seo เพื่อเอาชนะเว็บไซต์คู่แข็ง สิ่งสำคัญคือการค้นให้พบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของคู่แข็ง และดูว่าเขาทำ On-Page และ Off-Page ฝากลิ้งไว้ที่ไหนบ้าง เพื่อเราจะแกะตาม หรือทำให้ดีกว่า เราควรใช้เครื่องมือและโปรแกรมให้เชี่ยวชาญ สำหรับนักทำ Seo หรือผู้ที่อยากจะทำการตลาดออนไลน์บนเว็บไซต์ของตัวเอง อย่างแรกเราต้องสำรวจตลาดของคู่แข่ง ก่อนที่จะลงมือทำเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งก็จะมีเครื่องมือเยอะแยะมากมาย ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน

โปรแกรมเครื่องมือ SEO วิเคราะห์ ปรับแต่งเว็บไซต์

1 เตรียมเครื่องมือสำหรับเช็คเว็บคู่แข่ง

เครื่องมือ SEO ฟรี  จะเป็น Extension ฟรีที่อยู่ใน Chrome มีอยู่ 3 ตัวหลักๆ คือ Alexa Traffic Rank, Mozbar, Lighthouse 3 ตัวนี้จะเอาไว้สำหรับ

1.1.เช็คอันดับ Ranking เว็บไซต์

1.2.ดู Bounce Rate, Daily Pageviews per Visitor และ Daily Time on Site ภาพรวมได้

1.3.ดู Keyword ที่มีคนค้นหาเยอะๆ

1.4.ดูค่าเฉลี่ยความเร็วของเว็บ

1.5.ดูเว็บไซต์ที่ใกล้เคียงกัน

2.การเช็คค่าอันดับ Ranking เว็บไซต์

การทำ SEO นั้น Keyword มีวามยากง่ายไม่เหมือนกัน การที่คุณสามารถเช็คค่าอันดับ Ranking เว็บไซต์จะทำให้คุณรู้ว่าคุณสามารถสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่ การเช็คค่าอันดับ Ranking เว็บไซต์ ต้องใช้ Alexa Traffic Rank เป็นเครื่องมือในการตรวจเช็ค ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ คือ เปิดเว็บคู่แข่งของเรา จากนั้นให้คลิกตัว Alexa Traffic Rank ซึ่งตัวเลขที่ได้จากอันดับใน Alexa Traffic Rank คือ คาน้ำหนักตัวยิ่งตัวเลขที่แสดงออกมาน้อยแสดงว่าอันดับยิ่งดี การจัดอันดับเว็บของ Alexa Traffic Rank ไม่ได้วัดที่จำนวน Traffic คนเข้าเว็บอย่างเดียวแต่วัดจาก 3 อย่างดังนี้

2.1.Bounce Rate : อัตราส่วนของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์คุณอยู่แค่หน้าเดียวแล้วปิดไป ในส่วนนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี

2.2.Daily Pageviews Per Visitor : จำนวนหน้าที่คนเข้าเว็บไซต์และเปิดดูไปเรื่อยๆ ในส่วนนี้ยิ่งเยอะยิ่งดีแสดงให้คุณเห็นว่าเว็บไซต์ของคนนั้นมีความน่าเชื่อถือและมี Content ที่คุณภาพน่าสนใจ

2.3.Daily Time On Site : ค่าเฉลี่ยของเวลาที่คนอยู่บนเว็บไซต์ของคุณ ยิ่งคนอยู่ในเว็บไซต์คุณนานเท่าไหร่ยิ่งดี

3.เช็คอายุโดเมน

เว็บไซต์ไหนที่มีอายุโดเมนมากกว่าไม่ได้แปลว่ามีคุณภาพมากกว่าเว็บไซต์ที่มีอายุโดเมนน้อยกว่า แต่ Google นั้นจะมองอายุโดเมนที่มากนั้นมีคุณภาพมาก

4. เช็ค Mobile Friendly

Mobile Friendly นั้นไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์ที่ดูได้บนมือถือ แต่หมายถึงเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวกสบายเมื่อใช้งานผ่านมือถือ การที่ผู้ใช้งานในเว็บไซต์คุณนั้นต้องคอยซูมเข้าและซูมออก เลื่อนขวา เลื่อนซ้าย เพื่ออ่านข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ไม่ได้ให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อผู้เข้าใช้เว็บไซต์เพราะไม่มีความเป็น Mobile Friendly

5.ดู Traffic คนเข้าใช้เว็บไซต์

Ubersuggest คือ เว็บไซต์ที่ช่วยวิเคราะห์คำ Keyword ต่างๆเพื่อให้คุณได้นำมาใช้เป็นแนวคิดในกรผลิต Contentและนำข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ โดยเครื่องมือนี้สร้างโดย Neil Patel ผู้เชี่ยวชาญ SEO ระดับโลก วิธีการดูมี ดังนี้

5.1.Organic Keyword : คำ Keyword ทั้งหมดบนเว็บไซต์ของคุณที่มีการค้นหาและพบเจอเว็บไซต์ของคุณ

5.2. Organic Monthly Traffic : จำนวนเฉลี่ยของคนที่เข้าเว็บไซต์ใน 1 เดือน ผ่านการค้นหาแบบปกติ ซึ่งจะไม่รวมการค้นหาจากโฆษณา

6.เช็คความเร็วเว็บไซต์

การทำ SEO คือ การทำเว็บไซต์ของตัวคุณเองให้ดีกว่าคู่แข่ง ต้องสวยกว่า contentดีกว่าและที่สำคัญต้องเร็วกว่า คุณสามารถเช็คผ่าน Extension Lighthouse ซึ่ง Lighthouse จะทำการตรวจวัดความเร็วหน้าเว็บจากการเปิดบนมือถือเป็นหลัก เพราะว่า Google ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับ Mobile First ไม่ใช่แค่เปิดเว็บไซต์แต่เป็นในขณะการใช้งานและการปิดเว็บไซต์ด้วย

7.การเขียน Title

พื้นฐานในการทำ SEO On-Page สิ่งที่สำคัญ คือ Title หัวเรื่องของเว็บเพจนั้นๆ Google จะ Index ข้อมูลเว็บของคุณหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเขียน Title และ Title จะถูกแสดงในหน้าผลการค้นหา (SERP) จะมีคนเข้ามานเว็บไซต์ของคุณมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับ Title ด้วย การเขียน Title ที่ดีตองมีคำที่เป็น Keyword ชัดเจน การวางข้อความต้องดูเป็นธรรมชาติไม่ดูเป็น Spam และต้องเขียนให้หน้าสนใจทำให้คนที่เห็นผ่านๆอยากคลิกเข้าไปในเว็บไซต์คุณ คุณสามารถเช็คเว็บคู่แข่งของคุณว่าเขียน Title ว่าอะไรบ้าง คือ การเช็คผ่าน Extension ชื่อว่า Mozbar

วิธีเขียน Title ที่ดี

Title มี keyword ชัดเจน วางอยู่ตำแหน่งต้นประโยค

– ความยาว Title และ Meta Description เหมาะสม

Title และ Meta Description เขียนไม่ซ้ำกัน

– มี keyword อยู่บน Meta Description

– การวางตำแหน่ง keyword ระหว่าง Title กับ Meta Description ถูกต้อง

– มี Keyword เป็น H1 อยู่ 1 ครั้ง (1 หน้าเว็บต้องมี H1 ครั้งเดียวเท่านั้น)

วิธีเขียน Title ที่ไม่ควรทำ

Title กับ Meta description เขียนซ้ำกัน

– Title กับ Meta description เขียนยาวเกินไป

– เขียน H1 ยาวเกินไป

– Meta Keyword ในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วเพราะเป็นการทำ SEO แบบเก่า ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้กับ Google แล้วทำให้คุณสามารถชนะคู่แข่งได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *